วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คำถาม ทำไมคนส่วนใหญ่ถึงติดติดสารเสพติด.....


ยาเสพติด หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้นเมี่อนำเข้า


สู่ร่างกาย ไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและ

จิตใจนอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง

   ที่มา:http://www.baanjomyut.com/

ลักษณะสำคัญของสารเสพติดจะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้ 

1. เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
2. เกิดอาการขาดยาถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
3. มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา
4. สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลงเกิดโทษต่อตนเอง ครอบครัว ผู้อื่น ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ

ที่มา:http://www.sri.cmu.ac.th/

สาเหตุของการติดสารเสพติด


ปัญหาการติดสารเสพติดเป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อชีวิตของคนที่ติดยา ครอบครัว และ

สังคม ปัจจัยที่เป็นสาเหตุการติดสารเสพติดมีหลายประการ ซึ่งสาเหตุต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกันดังนี้

1.ความอ่อนไหวทางจิตใจและอารมณ์ ซึ่งรุนแรงมากน้อยแล้วแต่บุคคล

2.ติดเพราะถูกชักชวน ถูกหลอกลวง ถูกบีบบังคับจากหมู่คณะ

3.สิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งในการชักจูงให้บุคคลใช้ยาเสพติด เช่น อยู่ในละแวกที่มี
การค้ายาเสพติด ครอบครัวขาดความอบอุ่น

4.การแสดงค่านิยมที่ต้องการจะต่อต้านต่อคำสั่งสอน หรือห้ามปรามจากผู้ใหญ่

5.อาจเป็นเพียงความอยากรู้อยากเห็น อยากลอง อยากมีประสบการณ์

6.วัยรุ่นที่ด้อยโอกาสต้องการหนีจากสภาพของตนชั่วคราว การใช้ยานับเป็นการที่ทำให้ตนลืมเหตุการณ์
นั้นได้ชั่วคราว

7.การใช้ยาเป็นกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายทางจิตใจ

8.การใช้ยาเพื่อลดความกระวนกระวาย ความทุกข์ ความโดดเดี่ยวเหมือนการถูกละทิ้งแต่ทั้งนี้ ไม่ว่าจะ
เสพยาเสพติดด้วยสาเหตุใด ผลที่ตามมากับทุกคนนั้นไม่แตกต่างกัน คือ ชีวิตและอนาคตที่มืดมน สิ้น
หวัง และอยู่กับปัญหาไปตลอดชีวิตหากประสบปัญหาสงสัยบุคคลในครอบครัว ชุมชน ติดยาเสพติด 
ปรึกษาสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน หรือสายด่วน 1165 ตลอด 24 ชั่วโมง
โทษและพิษภัยของสารเสพติด
ด้านร่างกาย และจิตใจ

1. สารเสพติดจะให้โทษโดยทำให้การปฏิบัติหน้าที่ ของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเสื่อมโทรม พิษภัยของสารเสพย์ติดจะทำลายประสาท สมอง ทำให้สมรรถภาพเสื่อมลง มีอารมณ์ จิตใจไม่ปกติ เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น วิตกกังวล เลื่อนลอยหรือฟุ้งซ่าน ทำงานไม่ได้ อยู่ในภาวะมึนเมาตลอดเวลา อาจเป็นโรคจิตได้ง่าย

2. ด้านบุคลิกภาพจะเสียหมด ขาดความสนใจในตนเองทั้งความประพฤติความสะอาดและสติสัมปชัญญะ มีอากัปกิริยาแปลกๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ความคิดอ่านช้า ความจำเสื่อม ขาดสติ อาเจียน นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และจะเสียชีวิตในที่สุด

3. สภาพร่างกายของผู้เสพจะอ่อนเพลีย ซูบซีด ผอมเหลือง เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก หมดเรี่ยวแรง ขาดความกระปรี้กระเปร่าและเกียจคร้าน เฉื่อยชา เพราะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ปล่อยเนื้อ ปล่อยตัวสกปรก ความเคลื่อนไหวของร่างกายและกล้ามเนื้อต่างๆ ผิดปกติ 

4. ทำลายสุขภาพของผู้ติดสารเสพติดให้ทรุดโทรมทุกขณะ เพราะระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายถูกพิษยาทำให้เสื่อมลง น้ำหนักตัวลด ผิวคล้ำซีด เลือดจางผอมลงทุกวัน

5. เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่าย เพราะความต้านทานโรคน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดโรคหรือเจ็บไข้ได้ง่าย และเมื่อเกิดแล้วจะมีความรุนแรงมาก รักษาหายได้ยาก

6. อาจประสบอุบัติเหตุได้ง่าย สาเหตุเพราะระบบการควบคุมกล้ามเนื้อและประสาทบกพร่อง 
ใจลอย ทำงานด้วยความประมาท และเสี่ยงต่ออุบัติเหตุตลอดเวลา

7. เกิดโทษที่รุนแรงมาก คือ จะเกิดอาการคลุ้มคลั่ง ถึงขั้นอาละวาด เมื่อหิวยาเสพติดและหายาไม่ทัน เริ่มด้วยอาการนอนไม่หลับ น้ำตาไหล เหงื่อออก ท้องเดิน อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก กระวนกระวาย และในที่สุดจะมีอาการเหมือนคนบ้า เป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม

http://www.sri.cmu.ac.th

วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558

การวางแผน

การวางแผนงาน
1.อภิปรายร่วมกันในกลุ่ม วางแผนต่างๆคิดหาข้อมูลมีหัวข้อดังต่อไปนี้
  1.1การปฎิบัติตัวของวัยรุ่น
  1.2การติดเกมของเด็กวัยรุ่น
  1.3การสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่น
  1.4การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น
2.แบ่งงานกันในกลุ่ม เพื่อที่จะให้งานกลุ่มราบรื่น ไม่วุ่นวาย มีหัวข้อ ดังนี้
  2.1การปฎิบัติตัวของวัยรุ่น พงษ์สุฑา
  2.2การติดเกมของเด็กวัยรุ่น นพดล
  2.3การสูบบุหรี่ของเด็กวัยรุ่น นพดล
  2.4การทะเลาะวิวาทของวัยรุ่น พงษ์สุฑา
3.สมาชิกในกลุ่มแยกย้ายการทำงานหาข้อมูลที่ได้รับหมอบหมาย
4.รวบรวมข้อมูลที่ได้มา
5.นำข้อมูลที่ได้ไปปรึกษาคุณครูและแสดงความคิดเห็นกันในกลุ่ม
6.นำเสนอข้อมูลทางแก้ไข
7.นำข้อมูลที่ได้ไปลงคอมพิวเตอร์ หรือ Handy Pive